วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เอสอาร์-71 แบล็คเบิร์ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอสอาร์-71
เอสอาร์-71 แบล็คเบิร์ด (SR-71 Blackbird) ล็อกฮีด เอสอาร์-71 เป็นเครื่องบินที่พัฒนาขึ้นมาจาก ล็อกฮีด วายเอฟ-12 เอ ทำการบินเป็นครั้งแรกในวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1962 ในทะเลทรายเนวาดา วายเอฟ-12 เริ่มพัฒนาเป็น เอสอาร์-71 ในปี ค.ศ. 1963 เป็นเครื่องบินความเร็วระดับ 3 มัค เริ่มทำสถิติโลกเป็นครั้งแรกในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1965 เอสอาร์-71 เป็นเครื่องบินเจ๊ตตรวจการณ์ทางยุทธศาสตร์ ใช้งานในกองทัพอากาศสหรัฐและองค์การนาซ่า และได้รับสมญานามว่าแบล็คเบิร์ด (Blackbird)

รายละเอียด เอสอาร์-71

Lockheed SR-71A 3view.png
  • ผู้สร้าง บริษัทล็อกฮีด แอร์คราฟท์ เซอร์วิส สร้างร่วมกับ บริษัท สตาร์ค อินดัสทรี (สหรัฐอเมริกา)
  • ประเภท เจ๊ตตรวจการณ์ทางยุทธศาสตร์ 2 ที่นั่งเรียงกัน
  • เครื่องยนต์ เทอร์โบเจ๊ต แพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ เจที 11 ดี 20 บี ให้แรงขับสถิตเครื่องละ 10,430 กิโลกรัม และ 14,740 กิโลกรัม เมื่อใช้สันดาปท้าย 2 เครื่อง
  • กางปีก 16.95 เมตร
  • ยาว 32.74 เมตร
  • สูง 5.64 เมตร
  • น้ำหนักเปล่า 27,215 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้น 77,110 กิโลกรัม
  • อัตราเร็วสูงสุด กว่า 3 มัค (3,220 กิโลเมตร/ชั่วโมง)
  • พิสัยบิน 4,800 กิโลเมตร โดยไม่ต้องเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ
  • เพดานบิน กว่า 30,488 เมตร
  • บินทน 1 ชั่วโมง 30 นาที
  • อาวุธ ไม่ติดอาวุธ
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอฟ-4 แฟนทอม 2 (อังกฤษF-4 Phantom II)[1][2] เป็นเครื่องบินสกัดกั้นโจมตีพิสัยไกลทุกสภาพอากาศสองที่นั่ง สองเครื่องยนต์ ความเร็วเหนือเสียง เดิมทีสร้างมาเพื่อกองทัพเรือสหรัฐฯ โดยแมคดอนเนลล์ แอร์คราฟท์[2] ด้วยการที่ใช้งานง่าย จึงได้กลายมาเป็นเครื่องบินส่วนใหญ่ของกองทัพเรือ กองนาวิกโยธิน และกองทัพอากาศสหรัฐฯ[3] F-4 ถูกใช้อย่างกว้างขวางโดยทั้งสามกองทัพในสงครามเวียดนามโดยทำหน้าที่เป็นเครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศหลักให้กับกองทัพเรือและกองทัพอากาศ เช่นเดียวกับทำหน้าที่ลาดตระเวนและโจมตีภาคพื้นดิน[3]
F-4 เข้าประจำการครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ.2503 แฟนทอมยังคงเป็นส่วนสำคัญของกองทัพสหรัฐฯ ตลอดจนทศวรรษที่ 1970 และ 1980 ด้วยการถูกแทนที่โดยเอฟ-15 อีเกิลและเอฟ-16 ไฟท์ติ้งฟอลคอนในกองทัพอากาศสหรัฐฯ ส่วนในกองทัพเรือสหรัฐฯ แทนที่ด้วยเอฟ-14 ทอมแคทและเอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท และเอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ทในกองนาวิกโยธิน ยังคงถูกใช้ทำหน้าที่ลาดตระเวนโดยสหรัฐฯ ในสงครามอ่าวจนปลดประจำการในปีพ.ศ.2539[4][5] แฟนทอมยังถูกใช้โดยประเทศอื่นๆ อีก 11 ประเทศ อิสราเอลได้ใช้แฟนทอมอย่างกว้างขวางในสงครามอาหรับ-อิสราเอล ในขณะที่อิหร่านใช้กองบินขนาดใหญ่ในสงครามอิรัก-อิหร่าน แฟนทอมยังคงอยู่ในแนวหน้าของเจ็ดประเทศด้วยกัน และยังใช้เป็นเป้าหมายไร้คนขับของกองทัพอากาศสหรัฐฯ[6]
การผลิตแฟนทอมเริ่มขึ้นจากปีพ.ศ.2501-2524 พร้อมมีเครื่องบินทั้งสิ้น 5,195 ลำที่ผลิตออกมา[3] การผลิตมากขนาดนี้ ทำให้เป็นเครื่องบินไอพ่นที่ผลิตออกมามากที่สุดเป็นอันดับสองรองจากเอฟ-86 เซเบอร์ที่สร้างออกมาเกือบ 10,000 ลำ

ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

F-4 Phantom Pilots Vietnam

วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557



เอฟ-22 แร็พเตอร์   (F-22 Raptor)

          เครื่องบินเอฟ-22 เป็นเครื่องบินเจ๊ตขับไล่ที่มีแผนจะนำมาใช้ปฏิบัติการครองอากาศทดแทนเครื่องบินเอฟ-15 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2528 กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาได้กำหนดความต้องการเครื่องบินขับไล่ยุทธวิธีขั้นก้าวหน้า (ADVANCE TACTICAL FIGHTER) ต่อมาเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ 2529 จึงได้คัดเลือกเครื่องบินต้นแบบจากสองกลุ่มบริษัทได้แก่ กลุ่มเจนเนอรัล ไดนามิกส์/ล็อกฮีด/โบอิง (เจเนอรัล ไดนามิกส์ ควบรวมกับล็อกฮีดในภายหลัง) ที่สร้างเครื่องต้นแบบวายเอฟ-22 กับกลุ่มแมคดอนเนลล์ ดักลาส/นอร์ทธอป ที่สร้างเครื่องต้นแบบวายเอฟ-23 เพื่อดำเนินการสาธิตและรับรองเครื่องต้นแบบ วันที่ 23เมษายน พ.ศ. 2534 กองทัพอากาศสหรัฐฯตัดสินใจเลือกเครื่องต้นแบบวายเอฟ-22 ในการดำเนินการ


ประวัติการใช้งาน

              เอฟ-22 แร็พเตอร์ของฝูงบินรบที่ 27 ที่ฐานทัพอากาศแลงลีย์  มันถูกคาดว่าจะเป็นเครื่องบินรบที่ล้ำหน้าของอเมริการในต้นปีศตวรรษที่ 21 แร็พเตอร์นั้นเป็นเครื่องบินรบที่มีราคาแพงพร้อมกับมูลค่าที่เพิ่มขึ้นประมาณ 138 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เครื่องบินมากมายที่จะถูกสร้างถูกลดจากเดิม 750 ลำเป็น 183ลำ เหตุผลหนึ่งก็คือเพื่อลดความต้องการที่เอฟ-35 ไลท์นิ่ง 2 จะต้องใช้เทคโนโลยีจากเอฟ-22 แต่ยังมีราคาที่สามารถซื้อได้ เหตุผลที่มูลค่าของเทคโนโลยีที่ใช้กับเอฟ-35 ถูกกว่านั้นก็เพราะว่าพวกมันได้ถูกพัฒนาให้กับเอฟ-22 มาแล้ว
ที่มา http://onewroldfighterjets.blogspot.com/p/blog-page_3839.html






  • เอฟ-15 อีเกิล ( F-15 Eagle ) 
             เป็นเครื่องบินขับไล่สองเครื่องยนต์ทางยุทธวิธีทุกสภาพอากาศที่ถูกออกแบบมาเพื่อทำหน้าที่ครองความได้เปรียบทางอากาศ มันถูกพัฒนาให้กับกองทัพอากาศสหรัฐและได้ทำการบินครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2515 มันเป็นหนึ่งในเครื่องบินขับไล่ที่โดดเด่นที่สุดในสมัยใหม่ เอฟ-15 สไตรค์อีเกิลเป็นแบบดัดแปลงสำหรับทำหน้าที่โจมตีทุกสภาพอากาศซึ่งได้เข้าประจำการในปี พ.ศ. 2532 กองทัพอากาศสหรัฐฯ วางแผนที่จะใช้เอฟ-15 ไปจนถึงปีพ.ศ. 2568.

    ต้นกำเนิด
          
           ในปีพ.ศ. 2510 หน่วยข่าวกรองสหรัฐประหลาด เมื่อรู้ว่าสหภาพโซเวียตกำลังสร้างเครื่องบินขับไล่ขนาดใหญ่ที่มีชื่อว่ามิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-25 ในตอนนั้นทางฝั่งตะวันตกไม่รู้ว่ามิก-25 ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นเครื่องบินสกัดกั้นความเร็วสูง (ไม่ใช่เครื่องบินครองความได้เปรียบทางอากาศ) ดังนั้นจุดเด่นของมันคือความเร็วไม่ใช่ความคล่องตัว หางที่ใหญ่ของมิก-25 นั้นทำให้เครื่องบินบางลำของสหรัฐเสียเปรียบ มันทำให้กองทัพอากาศกลัวว่ามันจะทำงานได้ดีกว่าเครื่องบินของอเมริกา ในความเป็นจริงครีบและหางที่ใหญ่ของมิก-25 มีไว้เพื่อจัดการกับความเฉื่อยในการบินด้วยความเร็วสูงและระดับสูง เอฟ-แฟนทอม2 ของกองทัพอากาศและกองทัพเรือสหรัฐเป็นเครื่องบินขับไล่แบบเดียวที่มีกำลังและความคล่องตัวพอที่จะจัดการกับภัยคุกคามจากเครื่องบินขับไล่ของโซเวียต ตามนโยบายแฟนทอมนั้นไม่สามารถปะทะกับเป้าหมายโดยที่ยังไม่เห็นอย่างจัดเจนได้ ดังนั้นพวกมันจึงไม่สามารถจัดการกับเป้าหมายในระยะไกลได้ตามที่ถูกออกแบบมา ขีปนาวุธพิสัยกลางเอไอเอ็ม-สแปร์โวร์และแม้กระทั่งเอไอเอ็ม-ไซด์ไวน์เดอร์ก็ไม่มีประสิทธิภาพในระยะใกล้ซึ่งพบว่าปืนมักเป็นอาวุธที่ดีกว่าในระยะดังกล่าวเดิมทีแฟนทอมไม่มีปืนแต่ประสบการณ์จากสงครามเวียดนามทำให้ต้องเพิ่มปืน เข้าไป ปืนถูกติดเข้าไปที่ด้านนอกและต่อมาเอ็ม61 วัลแคนก็ถูกใช้กับเอฟ-4อี





  • ประวัติการใช้งาน

            เอฟ-15ดีจากฐานทัพอากาศทินดัลล์กำลังปล่อยพลุ
    ผู้ที่ใช้งานเอฟ-15 มากที่สุดคือกองทัพอากาศสหรัฐ เอฟ-15 ลำแรก (แบบบี) ถูกส่งมอบครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2517 ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2519 เอฟ-15 ลำแลกถูกมอบให้กับฝูงบินขับไล่ที่555 เครื่องบินลำแรกๆ ได้ใช้เรดาร์เอพีจี-63 ของฮิวจ์ส แอร์คราฟท์ เอฟ-15 ทำแต้มครั้งแรกในปีพ.ศ.2522 โดยกองทัพอากาศอิสราเอล ในปีพ.ศ. 2522-2524 ในช่วงความขัดแย้งตามชายแดนของเลบานอนกับอิสราเอล เอฟ-15เอได้ยิงมิก-21 13 ลำและมิก-25 สองลำของซีเรียตก เอฟ-15เอและบีถูใช้โดยอิสราเอลในปฏิบัติการหุบเขาเบก้า ในสงครามเลบานอนเมื่อปีพ.ศ. 2525 เอฟ-15 ของอิสราเอลได้ยิงเครื่องบินขับไล่ 40 ลำของซีเรียตก (มิก-21 23 ลำและมิก-23 17 ลำ) และเฮลิคอปเตอร์เอสเอ.342แอลหนึ่งลำ ต่อมาในปีพ.ศ. 2528 เอฟ-15 ของอิสราเอลในปฏิบัติการวู้ดเลคได้ทิ้งระเบิดใส่ฐานบัญชาการของกลุ่มพีแอลโอในตูนีเซีย 
    อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากโซเวียตและซีเรีย แสดงให้เห็นว่า เอฟ-15 จำนวน ลำของอิสราเอล ได้ถูกยิงตกโดย มิก-23 MLs ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2526 
    นักบินเอฟ-15ซีของกองทัพอากาศซาอุดิอาระเบียได้ยิงเอฟ-4อี แฟนทอม 2 สองลำของอิหร่านตกในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2527 และได้ยิงดัซโซลท์ มิราจ เอฟ1 สองลำของอิรักตกในสงครามอ่าว
    กองทัพอากาศสหรัฐได้ใช้เอฟ-15ซี ดี และอีในสงครามอ่าวเปอร์เซียเมื่อปีพ.ศ. 2534 เพื่อสนับสนุนปฏิบัติการพายุทะเลทรายที่ซึ่งพวกมันได้รับชัยชนะทางอากาศ 36 ครั้งจากทั้งหมด 39 ครั้ง เอฟ-15อีถูกใช้ในตอนกลางคืนเป็นหลักโดยตามล่าหาขีปนาวุธสกั๊ดและตำแหน่งปืนใหญ่ ตามที่กองทัพอากาศกล่าวเอฟ-15ซีได้ทำการสังหารเครื่องบินของอิรักไป 34 ครั้งในสงครามเมื่อปีพ.ศ. 2534 โดยส่วนใหญ่ใช้ขีปนาวุธ มีมิก-29 ห้าลำ มิก-25 สองลำ มิก-23 แปดลำ มิก-21 สองลำ ซู-25 สองลำ ซู-22 สี่ลำ ซู-7 มิราจ เอฟหนึ่งลำ อิล-76 หนึ่งลำ พีซี-9 หนึ่งลำ และเฮลิคอปเตอร์เอ็มไอ-8 สองลำ หลังจากครองความได้เปรียบทางอากาศสำเร็จในสามวันแรก เครื่องบินของอิรักเริ่มหนีไปทางหร่านมากกว่าเผชิญหน้ากับฝ่ายอเมริกา เอฟ-15ซีถูกใช้สำหรับการครองอากาศและเอฟ-15อีถูกใช้เพื่อโจมตีเป้าหมายบนพื้นดินอย่างหนักหน่วง เอฟ-15อีได้ทำการสังหารทางอากาศโดยเป็นเฮลิคอปเตอร์เอ็มไอ-ของอิรักโดยใช้ระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ เอฟ-15อีสูญเสียไปสองลำในปีพ.ศ. 2534 จากการยิงจากบนพื้นอีกลำได้รับความเสียหายบนพื้นจากการยิงของขีปนาวุธสกั๊ดใส่ฐานบินในดาราน
    พวกมันถูกใช้สนับสนุนปฏิบัติการเซาท์เธิร์นวอชท์โดยทำการลาดตระเวนในเขตห้ามบินเหนืออิรัก ในปฏิบัติการโพรไวด์คอมฟอร์ทในตุรกี เพื่อสนับสนุนนาโต้ที่ปฏิบัติการในบอสเนีย ในปีพ.ศ. 2537ยูเอช-แบล็คฮอว์คสองลำของสหรัฐถูกยิงตกโดยเอฟ-15 ซีผู้ที่คิดว่าเฮลิคอปเตอร์ทั้งสองลำเป็นของอิรักที่เข้ามาในเขตห้ามบิน เอฟ-15ซีได้ยิงมิก-29 สี่ลำของยูโกสลาเวียตกโดยใช้เอไอเอ็ม-120 แอมแรมในปฏิบัติการแอลไลด์ฟอร์ซในโคโซโว
    จากคำกล่าวอ้างของนักการทหารชาวอเมริกัน ซึ่งแตกต่างไปจากข้อมูลทางประวัติศาสตร์จากฝ่ายอื่นๆนั้น เอฟ-15 ในทุกกองทัพอากาศได้ทำการรบทางอากาศที่สังหารไป 104 ลำโดยไม่สูญเสียเลยสักลำในสถิติเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โดยนักการทหารชาวอเมริกัน มีความเชื่อว่า ในปัจจุบันไม่มีเอฟ-15 (เอ/บี/ซี/ดี) ถูกยิงตกโดยศัตรู และมากกว่าครึ่งของการสังหารทั้งหมดทำโดยนักบินของกองทัพอากาศอิสราเอล
  • ข้อมูลจากhttp://onewroldfighterjets.blogspot.com/p/1-f-15.html
  • av8harrier

    เอวี-8 แฮริเออร์

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    เอวี-8แฮริเออร์
    เอวี-8 แฮริเออร์ (AV-8 Harrier II) แมคดอนแนลล์ ดักลาส เอวี-8บี แอ็ดวานซ์ แฮริเออร์ (McDonnell Douglas AV-8B Harrier II) เป็นแฮริเออร์ที่สหรัฐฯสั่งซื้อลิขสิทธิ์มาจากอังกฤษเพื่อมาพัฒนาเป็นรุ่น เอวี-8 กองทัพสหรัฐฯ มีความต้องการ เอวี-8 เป็นจำนวน 343 เครื่องเพื่อประจำการในกองทัพในปี ค.ศ. 1980 และนับเป็นเครื่องบินรบแบบเดียวที่สหรัฐฯซื้อลิขสิทธิ์การสร้างจากต่างประเทศ

    รายละเอียด เอวี-8 แฮริเออร์

    McDONNELL DOUGLAS, BAe AV-8B HARRIER II.png
    • ผู้สร้าง:บริษัทแมคดอนเนลล์ ดักลาส(สหรัฐอเมริกา)
    • ประเภท:เจ๊ตโจมตีและตรวจการณ์ทางทะเลขึ้นลงแนวดิ่งระยะสั้นที่นั่งเดียว STOVL (Short Take Off and Vertical Landing)
    • เครื่องยนต์:เทอร์โบแฟน รอลส์-รอยซ์ บริสตอล เปคาซุส 11 ให้แรงขับเวกเตอร์ 9,760 กิโลกรัม
    • กางปีก:9.25 เมตร
    • ยาว:13.08 เมตร
    • สูง:3.43 เมตร
    • พื้นที่ปีก:21.37 ตารางเมตร
    • น้ำหนักเปล่า: 5,625 กิโลกรัม
    • น้ำหนักวิ่งขั้นสูง: 8,558 กิโลกรัม เมื่อบินขึ้นลงทางดิ่ง และ 12,690 กิโลกรัม เมื่อวิ่งขึ้นระยะสั้น
    • อัตราเร็วขั้นสูง: 0.95 มัค ที่ระยะสูง 305 เมตร
    • รัศมีทำการรบ: 370 กิโลเมตร เมื่อขึ้นลงทางดิ่ง และ มีน้ำหนักบรรทุก 817 กิโลกรัม
      • 740 กิโลเมตร เมื่อขึ้นลงระยะสั้น และ มีน้ำหนักบรรทุก 2724 กิโลกรัม
      • 1480 กิโลเมตร เมื่อขึ้นลงระยะสั้น และ มีน้ำหนักบรรทุก 908 กิโลกรัม
    • พิสัยบินไกลสุด: 4,774 กิโลเมตร
    • อาวุธ:ปืนใหญ่อากาศ เอเด็น ขนาด 30 มม. 2 กระบอก ในแฟร็งใต้ลำตัว 2 แฟร็ง
      • อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศ ไซด์ไวน์เดอร์ 2 นัด ที่ใต้ปีกด้านนอก
      • สามารถบรรทุกอาวุธได้หนักสูงสุด 3,630 กิโลกรัม ที่ ใต้ลำตัว 1 แห่ง และ ใต้ปีก ปีกละ 3 แห่ง
    ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี